เมื่อกล่าวถึงพืชอุตสาหกรรม (Industrial crops) ของไทยจะนึกไปถึง ปาล์มน้ำมัน , กาแฟ , ชา ซึ่งนับเป็นพืชที่สร้างฐานะ คุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ตัวอย่างที่ปรากฏชัดในภาคใต้ ก็คือ ปาล์มน้ำมัน ได้ช่วยสร้างฐานะ เพิ่มรายได้ ความมั่นคงให้แก่ชาวสวนปาล์มน้ำมัน พร้อม ๆ กับการเติบโตของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ปรากฏให้เห็นได้จาก มีการสร้าง ขยายโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันอยู่ทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ โดยเฉพาะในช่วงปี 2561 – 2564 เกิดการระบาดของโรคเชื้อโควิด 19 เศรษฐกิจภาคใต้พยุงไว้ได้ที่ปรากฏชัดก็คือ พืช ปาล์มน้ำมัน เป็นสำคัญ เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่เป็นการประมาณทางเศรษฐกิจ หันมาสร้างพืชทางเลือกใหม่ เมื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมยารักษาโรค , อุตสาหกรรมธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง หากพิจารณาขนาดตลาด (Market Size) ของตลาดยาในประเทศไทย มีมูลค่ารวม 1.84 แสนล้านบาท ในปี 2562 (ข้อมูลการวิจัยกรุงศรีธนาคารกรุงศรีอยุธยา) มีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย ส่วนขนาดตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง …
Month: November 2021
คุณประโยชน์และโทษของพืชกระท่อม
คุณประโยชน์กระท่อมต่อสุขภาพ จากงานวิจัยพบว่าใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกาย มีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการดังนี้ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์ เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้องรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน และโรคข้ออักเสบ เป็นต้น ช่วยรักษาอาการไอ, ช่วยลดการหลังกรด, ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก, ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท, แก้ท้องเสีย, ท้องร่วง, ปวดเบ่ง, แก้บิด, แก้ปวดฟัน, ทำให้นอนหลับระงับประสาท, แก้ปวดเมื่อยร่างกาย, ช่วยให้การทำงานทนไม่หิวง่าย, ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก, เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ, นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลายประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ, ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่น หรือมอร์ฟีนได้, ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด ผลข้างเคียงจากการเสพกระท่อมมากเกินไป ความอยากอาหารลดลง, หรือน้ำหนักลด, ท้องผูก, ปัสสาวะบ่อย, ปากแห้ง, วิตกกังวลและกระวนกระวายใจ เหงื่อออกและคัน, แพ้แดด อาการคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ…